ความรู้

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z |

Takeover

การเข้าครอบครองกิจการ การเข้าซื้อกิจการของบริษัทหนึ่งโดยบริษัทผู้ซื้ออาจเข้าไปเจรจาขอซื้อโดยตรงกับฝ่ายบริหารของบริษัทนั้น หรือโดยการแลกเปลี่ยนหุ้นของทั้งสองบริษัท ซึ่งอาจมีการจ่ายเงินสดส่วนเกินหรือไม่ก็ได้ มีลักษณะคล้ายกับการควบกิจการ

Take or Pay

ข้อผูกพันในการซื้อขายก๊าซซึ่งผู้ซื้อได้ตกลงกับผู้ขายที่จะซื้อและรับก๊าซในปริมาณที่ตกลงไว้ ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถรับก๊าซในปริมาณและระยะเวลาที่ตกลงไว้ จะต้องจ่ายมูลค่าก๊าซที่ยังไม่ได้รับไปก่อนแล้วไปรับก๊าซคืนในปีถัดไป (make-up) (ดูคำ Make-up Gas)

Tcf

มาจาก trillion cubic feet (1012) ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

Temporary Suspension

การปิดหลุมชั่วคราว

Term Purchase

การจัดซื้อน้ำมันดิบแบบสัญญามีระยะเวลา เป็นการซื้อในกรณีที่ผู้ซื้อมีความต้องการน้ำมันดิบบางชนิดจากแหล่งบางแหล่งเป็นพิเศษเพื่อใช้กลั่นให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตามต้องการ หรืออีกกรณีหนึ่งผู้ซื้อหรือโรงกลั่นต้องการลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะที่ไม่มีน้ำมันดิบเข้ากลั่นทันเวลา โดยปกติสัญญาจะมีอายุเวลา 1 ปี แต่หากสถานการณ์น้ำมันดิบไม่แน่นอน ราคาเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเร็วมาก สัญญาซื้อขายอาจจะลดระยะเวลาลงเหลือเพียง 3-6 เดือน

Tertiary Recovery

การผลิตขั้นตติยภูมิ เมื่อมีการผลิตขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิแล้ว เปอร์เซนต์ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ก็ยังไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบชนิดหนักและชนิดปานกลาง ดังนั้นจึงมีน้ำมันดิบเหลือพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้การผลิตขั้นตติยภูมิขึ้น การผลิตขั้นตติยภูมินี้อาจแบ่งเป็น 3 ชนิด คือชนิดที่ใช้กระบวนการความร้อน (thermal process) ชนิดที่ใช้กระบวนการผสมตัว (miscible process) และชนิดที่ใช้กระบวนการทางเคมี (chemical process) โดยชนิดแรกส่วนมากใช้กับแหล่งกักเก็บน้ำมันดิบชนิดหนัก และสองชนิดหลังใช้กับแหล่งกักเก็บน้ำมันดิบชนิดเบาและชนิดปานกลางแต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงและผลการทดลองใช้จริงไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การใช้การผลิตขั้นตติยภูมิจึงไม่แพร่หลาย

Tool Pusher

เป็นตำแหน่งลูกจ้างของบริษัทรับจ้างเหมาเจาะ (drilling contractor) มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลกลุ่มคนงานเจาะและแท่นเจาะ ตำแหน่งนี้บางทีเรียก drilling rig foreman, supervisor หรือ rig superintendent

TOU

มาจากคำว่า Time of Use หมายถึงอัตราค่าไฟฟ้าแบบช่วงเวลาการใช้ เป็นการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าตามต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าที่แท้จริงในช่วงเวลาของแต่ละวัน กล่าวคือ ในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง ระหว่างเวลา 9.00 - 22.00 น. โรงไฟฟ้าทุกโรงจะต้องเดินเครื่องเต็มที่และใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาแพงผลิตไฟฟ้า เช่น น้ำมันเตา ขณะเดียวกันในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าต่ำ ระหว่างเวลา 22.00 - 9.00 น. โรงไฟฟ้าจะหยุดเดินเครื่องที่มีต้นทุนการผลิตสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในช่วงนี้ต่ำ ค่าไฟฟ้าช่วงนี้จึงมีราคาถูกลงตามไปด้วย ดังนั้นการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกเวลาใช้ไฟฟ้าได้ตามราคาต้นทุนเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าของตนเอง โดยหากผู้ใช้ไฟหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา 9.00 - 22.00 น. ก็จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าของครอบครัวและจะส่งผลให้ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของประเทศลดลงได้ จะส่งผลดีต่อการอนุรักษ์ พลังงานของประเทศโดยรวม

TPA

มาจากคำว่า Third Party Access คือ การให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อแก่บุคคลที่สาม

Trip

การยกก้านเจาะขึ้นและลงจากหลุมเจาะ เช่น เมื่อจะเปลี่ยนหัวเจาะ หรือเพื่อเก็บแท่งหิน เป็นต้น

Trip Gas

ก๊าซธรรมชาติที่ไหลเข้ามาในหลุมเจาะระหว่างที่ดึงก้านเจาะขึ้นจากหลุม การไหลเข้ามาของก๊าซเกิดขึ้นได้ทั้งการดึงก้านเจาะขึ้นและเนื่องมาจากน้ำหนักน้ำโคลนที่ลดลงและความดันก้นหลุมที่ลดลง

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z |