ความรู้
A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z |
Peak Load
ช่วงเวลาที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละวัน เช่น ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย สูงสุดอยู่ในช่วง 9 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม ต่ำสุดอยู่ในช่วง 4 ทุ่ม ถึง 9 โมงเช้า
Peat
ซากพืชที่ยังไม่แข็งตัว สะสมในที่ลุ่มชื้นแฉะ จึงทำให้มีความชื้นสูง (อย่างน้อยร้อยละ 75) เนื้อเซลลูโลสของซากพืชต่างๆถูกแบคทีเรียและเชื้อราแปรสภาพเป็นอินทรีย์วัตถุและก๊าซมีเทน แต่ยัง ปรากฎลักษณะซากพืชต่างๆให้เห็นอยู่ภายในเนื้อ มีคาร์บอนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 60 และออกซิเจนประมาณร้อยละ 30 เมื่อแห้งจะติดไฟได้ดี peat คือลำดับเบื้องต้นของกระบวนการเกิดถ่านหิน
Percussion Drilling
การเจาะแบบกระแทก
Perforations
การยิงท่อกรุ ซีเมนต์ และชั้นหินที่จะทำการผลิตให้เป็นรู เพื่อให้น้ำมันหรือก๊าซไหลขึ้นมาในหลุมเจาะได้
Permeability
ค่าความซึมได้ของหิน หมายถึงการวัดความสามารถในการยอมให้ของไหล ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซ หรือ น้ำ ไหลผ่านช่องว่างระหว่างหิน หน่วยที่ใช้วัดเป็น มิลลิดาซี (millidarcies, md) หรือ ดาซี (darcies)
Petrochemical Industry
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คืออุตสาหกรรมที่นำเอาวัตถุดิบซึ่งมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนไปเข้ากระบวนการเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น ปิโตรเลียมที่ใช้เป็นวัตถุดิบได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท น้ำมันดิบ แนฟทา ก๊าซอีเทน โพรเพน บิวเทน เป็นต้น มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะเม็ดและผงพลาสติก สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปพลาสติกนานาชนิด
Petroleum
สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีธาตุสองชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่คาร์บอนและไฮโดรเจน โดยอาจมีหรือไม่มีธาตุอโลหะอื่นๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ปนอยู่ด้วยก็ได้ ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง และความร้อน ตลอดจนความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมนั้นถูกกักเก็บไว้ แบ่งตามสถานะสำคัญทางธรรมชาติได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ
Petroleum Province
บริเวณที่มีลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา และลักษณะชั้นหินที่คล้ายคลึงกัน และมีแหล่งกักเก็บปิโตรลียม (petroleum reservoir) อยู่เป็นจำนวนมาก
Petroleum Reserves
ปริมาณสำรองปิโตรเลียม หมายถึงปริมาณปิโตรเลียมที่สามารถจะผลิตขึ้นมาได้อย่างคุมค่าต่อการลงทุนจากแหล่งปิโตรเลียม ภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้น
Pig
อุปกรณ์ซึ่งอาจเป็นลูกยางแข็ง ลูกพลาสติก หรือแท่งโลหะ ที่ใส่ไว้ในท่อส่งน้ำมันหรือก๊าซ (pipeline) เพื่อใช้ทำความสะอาดท่อส่ง โดยมันจะไหลไปในท่อตามแรงดันของน้ำมันหรือก๊าซที่ไหลไป และจะติดอุปกรณ์สำหรับตรวจดูว่าส่วนใดของท่อสึกกร่อนหรือชำรุดด้วย
Pipeline
ท่อสำหรับการขนส่งน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งวางได้ทั้งบนบกและในทะเล
Plug and Abandon
การอัดซีเมนต์เข้าไปในหลุมเจาะที่ไม่พบปิโตรเลียมเพื่อการสละหลุม
Porosity
ค่าความพรุนของหิน หมายถึง จำนวนช่องว่างระหว่างหิน คิดเป็นเปอร์เซนต์โดยปริมาตร porosity จะเป็นตัววัดความจุในการกักเก็บของไหลในชั้นหินกักเก็บ (reservoir rock) ถ้าชั้นหินมีค่าความพรุน 0 - 5% จะไม่น่าสนใจ , 5 - 10% ไม่ดี , 10 - 15% พอใช้ , 15 - 20% เป็นชั้นหินกักเก็บที่ดี , 20 - 25% ดีมาก
Portable Rig
เป็นแท่นเจาะบนบกแบบที่มีโครงสร้างหอคอย (derrick) ติดอยู่ บนรถบรรทุกขนาดใหญ่ สามารถเคลื่อนย้ายแท่นเจาะได้โดยสะดวก เพราะโครงสร้างหอคอยพับให้เอนราบได้
Possible Reserves
ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่เป็นไปได้ว่าจะมีอยู่ โดยมีข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมบ่งชี้ว่าน่าจะสามารถผลิตปิโตรเลียมได้ ซึ่งจะมีความมั่นใจน้อยกว่า proved และ probable reserves (ดูคำ Proved และ Probable reserves)
Pour Point
จุดไหลเท คือ อุณหภูมิ ณ จุดที่น้ำมันดิบแข็งตัวและไม่สามารถไหลได้สะดวก หมายถึงว่า ถ้าอุณหภูมิของน้ำมันดิบต่ำกว่าจุดไหลเท น้ำมันดิบก็จะเป็นไขแข็ง ไหลไม่ได้ และในทางตรงกันข้าม หากอุณหภูมิสูงกว่าจุดไหลเท ไข หรือ wax ที่ผสมอยู่ในน้ำมันดิบก็จะหลอมตัวเข้ากับน้ำมันดิบ ทำให้ น้ำมันดิบไหลได้
Power Pool
คือ ตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าในปี 2546 ซึ่งผู้ใช้ไฟไม่จำเป็นต้องซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง แต่สามารถเลือกซื้อจากผู้ค้าปลีก (retails) รายใดก็ได้ โดยผู้ค้าปลีกจะไปซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าผ่านตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และส่งไปตามสายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในการขายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟ ทั้งในด้านราคาและคุณภาพบริการ โดยตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้ามีหน้าที่ 2 ประการ คือ - เป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้ค้าปลีก - เป็นกลไกในการบริหารพลังงานไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า เช่น การสั่งเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า เพื่อให้มีการสั่งเดินเครื่องจากโรงที่มีต้นทุนต่ำที่สุดก่อน
Primary Drive
แรงดันที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ช่วยขับน้ำมันและก๊าซให้ไหลเข้าไปในหลุมเจาะ ในแหล่งน้ำมัน แรงขับตามธรรมชาติ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติที่ละลายปนอยู่กับน้ำมันดิบ (solution gas) ก๊าซธรรมชาติที่เกิดอยู่อย่างอิสระ (free gas) น้ำและแรงโน้มถ่วงของโลก ในแหล่งน้ำมันทุกแหล่งจะมีแรงขับตามธรรมชาติอย่างน้อย 1 อย่าง หรือบางทีมี 2 อย่าง แรงขับตามธรรมชาติจะลดลงเมื่อมีการผลิต
Primary Recovery
การผลิตขั้นปฐมภูมิ คือ การผลิตที่ใช้พลังงานตามธรรมชาติที่มีอยู่ในแหล่งกักเก็บ ทำให้เกิดการไหลของน้ำมันดิบจากแหล่งกักเก็บเข้ามาในหลุมผลิต ขบวนการผลิตแบบนี้เปอร์เซนต์ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ (เมื่อเทียบกับน้ำมันทั้งหมดที่มีในแหล่งกักเก็บ) จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของหินกักเก็บ คุณสมบัติของน้ำมันดิบ และชนิดของพลังงานธรรมชาติที่มีอยู่ในแหล่งกักเก็บ เปอร์เซนต์ของน้ำมันดิบ ที่ผลิตได้โดยกระบวนการผลิตขั้นปฐมภูมิสำหรับน้ำมันดิบชนิดหนักมาก (extra heavy crude oil) ชนิดหนัก (heavy crude) ชนิดหนักปานกลาง (medium crude) และชนิดเบา (light crude) มีค่าประมาณ 1-5%, 1-10%, 5-30% และ 10-40% ตามลำดับ ช่วงของเปอร์เซนต์แสดงถึงกลไกการผลิตในแหล่งกักเก็บที่ต่างกัน
Production Analysis Model
การจำลองการไหลในระบบการผลิต
Production Well
หลุมผลิตปิโตรเลียม
Processing Platform (PP)
แท่นผลิต เป็นแท่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การผลิตต่างๆ เช่น ระบบแยกสถานะ (gas/liquid seperator) ระบบเพิ่มแรงดันก๊าซ (gas compression) ระบบดูดความชื้น (dehydration) มาตรวัด (metering) เป็นต้น
Produced Water
น้ำตามธรรมชาติที่มีอยู่ในแหล่งปิโตรเลียมและผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับการผลิตน้ำมัน หรือเป็นน้ำที่อัดเข้าไปในแหล่งเพื่อช่วยเพิ่มการผลิต
Probable Reserves
ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่คาดว่าจะมี โดยมีข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมสนับสนุนว่าจะสามารถผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาได้ probable reserves มีความไม่แน่นอนสูงกว่า proved reserves ในด้านขนาดหรือขอบเขตที่แน่นอนของแหล่ง ความสามารถที่จะผลิตขึ้นมาได้
Proved Reserves
ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว คือ ปริมาณสำรองที่ได้มาโดยการคำนวณและประมาณการจากข้อมูลการเจาะและทดสอบหลุมปิโตรเลียมซึ่งได้มีการพิสูจน์ทราบแล้ว รวมทั้งมีหลักฐานข้อมูลการผลิต หรือข้อมูลทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ที่มีความแน่นอนค่อนข้างสูงมาสนับสนุนว่า จะสามารถผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาได้คุ้มค่าการลงทุนภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้น
A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z |